Guestpost โฟสฟรี ถ้าคุณมีสาระดีๆ ที่นี่เราให้คุณได้แบ่งปัน

Notifications
Clear all

นักจิตวิทยาเผย เบื้องลึกของ "คนหลงตัวเอง" อย่างแท้จริง กลับรู้สึก "ไร้ค่าและเกลียดตนเอง"

1 Posts
1 Users
0 Likes
461 Views
wunchai
(@wunchai)
Posts: 2479
Noble Member
Topic starter
 

 คนหลงตัวเอง

โรคหลงตัวเอง,คนหลงตัวเอง ภาษาอังกฤษ,คนหลงตัวเอง ,คนหลงตัวเอง pantip,คนหลง ตัว เอง มีเสน่ห์,เบื่อ คนหลง ตัว เอง,อยู่กับคนหลงตัวเอง,ผู้ชายหลงตัวเอง
เชื่อหรือไม่ว่าพวกเราต่างเข้าใจผิด ในเรื่องความคิดจิตใจเบื้องลึกของคนเป็นโรคหลงตัวเอง (narcissism) มาโดยตลอด โดยผลการศึกษาทางจิตวิทยาล่าสุดชี้ว่า พวกที่หลงตัวเอง "อย่างแท้จริง" ไม่ได้รู้สึกรักและชื่นชมตนเองมากเกินไป อย่างที่เคยเข้าใจกันสักนิด แต่กลับรู้สึกไร้ค่าและเกลียดตนเองต่างหาก

รายงานวิจัยของทีมนักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก (NYU) ซึ่งลงตีพิมพ์ในวารสาร Personality and Individual Differences ฉบับล่าสุดระบุว่า ได้ทำการทดสอบกับนักศึกษากว่า 300 คน ที่มีอายุเฉลี่ยราว 20 ปี โดยให้ตอบแบบสอบถามเพื่อวัดว่า พวกเขามีลักษณะต่าง ๆ ที่เข้าข่ายการมีบุคลิกภาพเป็นคนหลงตัวเองหรือไม่ และในระดับที่มากน้อยเพียงใด

การทดสอบนี้ยังรวมถึงการตรวจวัดระดับความภาคภูมิใจในตนเอง และความชัดเจนของบุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคมในตัวของอาสาสมัครด้วย

  • คนหลงตัวเองมักได้เลื่อนตำแหน่ง ขึ้นนั่งเก้าอี้ผู้บริหารเร็วเกินหน้าเพื่อนฝูง
  • วิจัยชี้ "คนหลงตัวเอง" มีความสุขยิ่งกว่าคนทั่วไปแม้สังคมรังเกียจ
  • นักจิตวิทยาชี้ คนชั้นสูงมักเชื่อว่าตัวเองเก่งเกินความเป็นจริง

ผลปรากฏว่าผู้ที่มีพฤติกรรมโอ้อวด ชอบเบ่ง หรือยกตนข่มท่านในระดับสูง มักเป็นผู้ที่ระบุในแบบสอบถามว่า ตนเองรู้สึกขาดความมั่นคงปลอดภัยอย่างรุนแรง และมีความรู้สึกผิดอยู่ในใจเสมอ ในขณะที่อาสาสมัครอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมีพฤติกรรมอวดเบ่งคล้ายกับจะเป็นโรคหลงตัวเองเช่นกัน กลับไม่มีความรู้สึกผิดใด ๆ และแสดงออกถึงบุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคมมากกว่า

ดร. แมรี โควัลชิก ผู้นำทีมวิจัยบอกว่า "ผลการทดลองล่าสุดชี้ว่า เราควรจะทำความเข้าใจบุคลิกภาพแบบหลงตัวเองเสียใหม่ ในฐานะที่มันเป็นพฤติกรรมปรับตัวชดเชย เพื่อกลบเกลื่อนหรือก้าวข้ามความรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า"

ก่อนหน้านี้นักจิตวิทยามองว่ามีคนหลงตัวเองอยู่สองประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่คนหลงตัวเองที่เปราะบาง (vulnerable narcissist) ซึ่งมีความกังวลสูงและอ่อนไหวต่อคำวิจารณ์ จนต้องสร้างเรื่องโอ้อวดขึ้นเพื่อป้องกันตัว ส่วนคนหลงตัวเองแบบยกตนให้ยิ่งใหญ่เหนือผู้อื่น (grandiose narcissist) กลับมีความนับถือชื่นชมตนเองสูง และมักโอ้อวดเพราะรู้สึกว่าตนเหนือกว่าใครอย่างแท้จริง

ทีมวิจัยของดร. โควัลชิกมองว่า พฤติกรรมของคนหลงตัวเองแบบหลัง ไม่ใช่การแสดงออกของผู้มีบุคลิกภาพแบบหลงตัวเองที่แท้จริง แต่เป็นการอวดเบ่งเพื่อแสวงหาความได้เปรียบและอำนาจ ตามแบบฉบับของพวกมีบุคลิกภาพต่อต้านสังคม (psychopath) มากกว่า เพราะพวกนี้ไม่เคยรู้สึกผิดต่อสิ่งเลวร้ายที่กระทำลงไป

ส่วนผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบหลงตัวเองอย่างแท้จริง (proper narcissist) กลับมีความรู้สึกผิดในเบื้องลึกของจิตใจ ทั้งยังนับถือตนเองต่ำ จึงแสดงการโอ้อวดตนเองเพื่อให้ได้มาซึ่งการยอมรับและสถานะทางสังคม

ทีมผู้วิจัยย้ำว่า พวกเขาต้องการทำให้คำนิยามของโรคหลงตัวเองมีความหมายแคบลง เพื่อประโยชน์ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคทางจิตเวชศาสตร์ เนื่องจากความรู้สึกไม่มั่นคงและเกลียดตัวเองนี้ อาจเกิดขึ้นจากบาดแผลทางจิตใจในวัยเด็กของคนหลงตัวเองก็เป็นได้

https://www.bbc.com/thai/international-56626598

 
Posted : 04/04/2021 2:50 pm
Share:
Klook.com